หลักเกณฑ์การเสนอบทความ
หลักเกณฑ์การเสนอบทความ
หลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และการบริหารสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
     1. เป็นบทความทางวิชาการหรือบทความวิจัยด้านสังคมสงเคราะห์ สวัสดิการสังคมและการบริหารสังคม (เช่น องค์ความรู้ด้านสวัสดิการแรงงาน การพัฒนาชุมชน การศึกษา สังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ฝ่ายกายและฝ่ายจิต สังคมสงเคราะห์ในกระบวนการยุติธรรม ฯลฯ) ที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในที่ใดมาก่อน
     2. เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ
     3. ส่งต้นฉบับบทความมีความยาวไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ A4 ข้อความในบทความพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word ขนาดตัวอักษร 16 รูปแบบ ตัวอักษร TH Sarabun New ผ่านระบบ Submissions Online “https://www.tci-thaijo.org/index.php/swjournal” 
     4. ระบุชื่อบทความ ชื่อ–นามสกุลจริง (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ตำแหน่งทางวิชาการ สถานที่ทำงานของผู้เขียนบทความ และ E-mail Address
     5. ระบุชื่อบทความ ประเภทบทความวิชาการ หรือบทความวิจัยของนักศึกษาที่ตีพิมพ์เพื่อจบการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ให้ระบุชื่อบทความ ชื่อ-นามสกุลจริง(ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) เป็นชื่อแรก และระบุชื่อ-นามสกุลจริง (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ตำแหน่งวิชาการของอาจารย์ที่ปรึกษาหลักเป็นชื่อลำดับที่ 2
     6. การอ้างอิงให้ใช้ระบบการอ้างอิง APA
     7. บทความต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีความยาวไม่เกินหนึ่งหน้ากระดาษ A4 โดยระบุชื่อบทความ ชื่อ–นามสกุลผู้เขียน คำสำคัญ เนื้อความ
     8. หากเป็นงานแปลหรือเรียบเรียงจากภาษาต่างประเทศ ต้องมีหลักฐานการอนุญาตให้ตีพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์
     9. เกณฑ์การพิจารณา มีดังนี้
          9.1 กองบรรณาธิการจะพิจารณาเบื้องต้น
          9.2 ผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้ประเมินบทความ) เป็นผู้พิจารณาเนื้อหาสาระ ตรวจสอบความถูกต้อง และคุณภาพทางวิชาการ
     10. ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนและสงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย การตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ในกรณีที่มีแหล่งให้ทุน จะต้องมีการอนุญาตให้ส่งบทความเป็นลายลักษณ์อักษรจากแหล่งให้ทุนด้วย
     11. ผู้เขียนบทความซึ่งมิใช่เป็นบทความที่ส่งเพื่อให้จบตามหลักสูตรการศึกษา หากได้รับการตีพิมพ์จะเป็นการตีพิมพ์ในรูปแบบ Online บนเว็บไซต์วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

การอ้างอิงเอกสาร
          การอ้างอิงใช้การอ้างอิงแบบนามปี และการเขียนรายการอ้างอิงตามแบบของ APA (American Psychological Association) ดังตัวอย่าง

          พรทิพย์ กาญจนนิยต และคณะ. (2546). การจัดการความรู้: สู่วงจรคุณภาพที่เพิ่มพูน. กรุงเทพฯ: สำนักปลัดทบวงมหาวิทยาลัย.
Axinn. J., & Levin, H. (1997). Social Welfare: A History of the American Response to Need. (4th ed.). White Plains, New York: Longman.






กองบรรณาธิการวารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และการบริหารสังคม
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
เลขที่ 2 แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กทม. 10200
Tel: +66(0) 2-613-2503
Fax: +66(0) 2-224-9417
Email: sw.journal.tu@gmail.com
Website: http://www.socadmin.tu.ac.th/journal
.
ลิขสิทธิ์ © 2017 วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์